น้ำมันหอมระเหย คืออะไร?
น้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) คือ น้ำมันที่ได้มาจากการสกัดด้วยกระบวนต่างๆตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด โดยคุณสมบัติหลักของน้ำมัน คือ เป็นสารระเหยในอุณหภูมิปกติทำให้เราได้รับกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยของส่วนของพืชชนิดนั้นๆ ในทางเคมี น้ำมันหอมระเหยจะเป็นสารประกอบกลุ่มจำพวก Aromatic Compond และมีสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการบำบัดรักษา อาทิเช่น ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย, กระตุ้นระบบทางเดินหายใจ, ช่วยสมานแผลและบรรเทาบาดแผลจากไฟไหม้ หรือช่วยระบบไหลเวียนเลือดให้ดีขึ้น ดังนั้น ในทางการแพทย์หรือด้านธุรกิจจึงนิยมใช้น้ำมันหอมระเหยมาบำบัดโรค (Aromatherapy) ในด้านต่างๆ อาทิเช่น อาการนอนไม่หลับในกลุ่มผู้ป่วยความดันสูง หรือ อาการหายใจติดขัดในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้อากาศ เป็นต้น แต่สิ่งสำคัญในการใช้น้ำมันหอมระเหยต้องใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากหากใช้ในปริมาณที่มากเกินไปหรือผู้ที่ได้รับการบำบัดที่มีอาการแพ้สารประกอบบางชนิดนำไปใช้ อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ ดังนั้น จึงต้องมีการระบุข้อควรระวังการใช้ไว้เสมอ หรือ มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาโดยเฉพาะ
เราจะสกัดน้ำมันหอมระเหยได้อย่างไร?
กระบวนการสกัดน้ำมันหอมระเหย ที่นิยมใช้หลักๆแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ขึ้นกับคุณสมบัติส่วนของสารประกอบที่ต้องการและประเภทของพืชที่นำมาสกัด ดังนี้
สกัดด้วยไอน้ำ (Steam Distillation Process) คือ เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยม ทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นระบบที่มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน และสามารถใช้กับพืชได้หลายประเภท พืชที่นิยมนำมาสกัดด้วยวิธีนี้ เช่น ลาเวนเดอร์, เปปเปอร์มินต์, ทีทรี, พิมเสน และ ยูคาลิปตัส เป็นต้น ประเภทของวัตถุดิบที่นำมาใช้สกัดสามารถใช้ได้หลากหลาย เช่น ใบ, ดอก, เปลือกไม้, รากไม้ และเมล็ด เป็นต้น ในหม้อกลั่นส่วนของวัตถุดิบจะอยู่เหนือส่วนของน้ำ เมื่อน้ำระเหยเป็นไอน้ำจะไหลผ่านวัตถุดิบและนำสารประกอบขึ้นไปจนถึงส่วนควบแน่นทำให้เราได้สารประกอบสองส่วนคือ สารประกอบที่ละลายในน้ำ (Hydrosol) และสารประกอบที่ละลายในน้ำมัน (Essential Oil) ปัจจัยสำคัญนอกเหนือจากวัตถุดิบคือ อุณหภูมิที่นำมาใช้จะส่งผลต่อสลายตัวของสารสำคัญที่ต้องการนั้นหรือไม่ และ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยววัตถุดิบมีผลต่อกลิ่นและสารประกอบที่ได้รับ
สกัดเย็น (Cold-Press or Expression Process) คือ กระบวนกการบีบอัดโดยไม่ใช้ความร้อน วัตถุดิบที่นำมาใช้ส่วนมากเป็นกลุ่มเปลือก หรือ ส่วนที่มีน้ำมันปริมาณมากพอ อาทิเช่น เปลือกส้มและเปลือกมะนาว เป็นต้น กระบวนการนี้ข้อดีคือ สารประกอบสำคัญไม่ถูกความร้อนสลาย แต่พืชหลายชนิดไม่เหมาะสำหรับการใช้กระบวนการนี้
สกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extraction Process) คือ กระบวนการสกัดวัตถุดิบด้วยตัวทำละลาย อาทิ เช่น Hexane, Acetone หรือ Supercritical Carbon Dioxide เนื่องจากวัตถุดิบบางประเภทไม่สามารถใช้กระบวนการกลั่นด้วยไอน้ำได้เพราะจะทำให้สารสำคัญบางชนิดหรือน้ำมันหอมระเหยกลุ่ม Top Note ที่ต้องการสลายไป
TIPS:
มีการศึกษาส่วน Hydrosol ของ โป๊ยกั๊ก, ยี่หร่า, ออริกาโน่ และ ไทม์ จะมีสารสำคัญที่ที่ช่วยลดเชื้อแบคทีเรีย และยับยั้งแบคทีเรียได้มากถึง 15 สายพันธุ์ ซึ่งบางอุสาหกรรมใช้ในการบูดของอาหาร เช่น ออแกนิคฟาร์ม ดังนั้นผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่าสินค้านั้นปลอดภัยจากสารเคมี
วัตถุดิบอะไรที่นิยมนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย และสกัดมาจากส่วนไหนบ้าง?
เปลือกไม้ (Bark)
Cassia
Cinnamon
Sassafras
เบอร์รี่ (Berry)
Allspice
Juniper
ดอกไม้ (Flower)
Cannabis
Chamomile
Clary sage
Clove
Hops
Hyssop
Jasmine
Lavender
Manuka
Marjoram
Orange
Pelargonium (Scented geranium)
Plumeria
Rose
Ylang-ylang
ส่วนใบ (Leaves)
Basil
Bay leaf
Buchu
Cinnamon
Common sage
Eucalyptus
Guava
Lemon grass
Melaleuca
Oregano
Patchouli
Peppermint
Pine
Rosemary
Spearmint
Tea tree
Thyme
Tsuga
Wintergreen
เปลือก (Peel)
Bergamot
Grapefruit
Lemon
Lime
Orange
Tangerine
ยางไม้ (Resin)
Benzoin
Copaiba
Frankincense
Labdanum
Myrrh
เหง้า (Rhizome)
Galangal
Ginger
รากไม้ (Roots)
Valerian
เมล็ด (Seeds)
Anise
Buchu
Celery
Cumin
Flax
Nutmeg oil
ไม้ (Woods)
Agarwood
Camphor
Cedar
Rosewood
Sandalwood
ในบทความหน้าจะกล่าวถึง การนำน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil) มาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆอย่างไรบ้าง แล้วพบกันนะครับ :)
Comments